แล้วออกแบบ font น่าจะเป็นแบบใดครับ ระหว่าง 2 แบบนี้ ลิขสิทธิ์ กับสิทธิบัตร ..

***ลิขสิทธิ์
ผลงานเหล่านี้ .. เป็นลิขสิทธิ์ ของผู้สร้างงาน หรือศิลปิน ทันที
ผู้ใด จะเผยแพร่ จะต้องมี หนังสือรับรอง อนุญาติเสียก่อน โดยจะมีแบบฟอร์ มให้
(บรรทัดนี้ผม จำจากประสบการณ์ เก่าที่ เคยไปจะ จด สิทธิบัตร เพราะที่เว็บ ไม่มีอธิบาย .. เข้าหาข้อมูลได้ ยากนิดนึง)
-งานวรรณกรรม
-งานนาฏกรรม
-งานศิลปกรรม
-งานดนตรีกรรม
-งานโสตทัศนวัสดุ
-งานภาพยนตร์
-งานสิ่งบันทึกเสียง
-งานแพร่เสียงแพร่ภาพ
-งานอื่นใดอันเป็นงานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
ott ว่า.. การเป็น ลิขสิทธิ์ นั้น สำคัญนักครับ เพราะเรา จะเป็นเจ้าของตลอดไป ใครจะใช้ก็มาขออนุญาตไป โดย จะเสียหรือไม่เสียตังแล้วแต่เรา

***สิทธิบัตรคืออะไร

ประเทศไทย ได้มีความพยายามที่จะออกกฎหมายสิทธิบัตรมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2456 โดยคาดว่าได้มีการยกร่างกฎหมายเป็นภาษาอังกฤษชื่อว่า “Law on Patents” ลงวันที่ 7 กรกฎาคม 2456 และได้มีการยกร่างกฎหมายสิทธิบัตรมาโดยตลอด พร้อมทั้งได้มีการเตรียมงานในการที่จะนำระบบสิทธิบัตรมาใช้ในประเทศไทย แต่ได้รับการคัดค้านจากสมาชิกรัฐสภาฯ ต่อมาในปี พ.ศ. 2521 กระทรวงพาณิชย์ได้เสนอร่างกฎหมายสิทธิบัตรให้คณะรัฐมนตรีพืจารณาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน 2522 ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายสิทธิบัตรเพื่อให้เป็นสากลมากยิ่งขึ้น
จากลักษณะของสิทธิบัตรดังกล่าวข้างต้น อาจให้คำนิยามของ “สิทธิบัตร” ได้เป็นสองความหมาย ดังนี้

-สิทธิบัตร หมายถึง หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครอง การประดิษฐ์คิดค้นหรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่มีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนด
-สิทธิบัตร หมายถึง สิทธิพิเศษที่กฎหมายบัญญัติให้เจ้าของสิทธิบัตรมีสิทธิเด็ดขาดหรือ สิทธิแต่เพียงผู้เดียว ในการแสวงหาประโยชน์จากการประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้รับสิทธิบัตรนั้น เช่น การผลิตและจำหน่าย เป็นต้น และสิทธิที่ว่านี้จะมีอยู่เพียงช่วงระยะเวลาที่จำกัดช่วงหนึ่งเท่านั้น จากคำนิยามข้างต้น สิทธิบัตรจะเกี่ยวข้องกับ
-การประดิษฐ์ หมายถึง ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับ ลักษณะ องค์ประกอบ โครงสร้าง หรือกลไกของผลิภัณฑ์ รวมทั้งกรรมวิธีในการผลิต การรักษา หรือการปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ให้ดีขึ้นหรือทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ ที่แตกต่างไปจากเดิม
-การออกแบบผลิตภัณฑ์ หมายถึง ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับรูปร่าง ลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์ ที่แตกต่างไปจากเดิม

*การประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตรได้

1. ต้องเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ คือ เป็นการประดิษฐ์ที่แตกต่างไปจากเดิม ยังไม่เคยมีใช้หรือแพร่หลายมาก่อนในประเทศ
หรือไม่เคยเปิดเผยสาระสำคัญในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์มาก่อนทั้งในและนอกประเทศ หรือยังไม่เคยได้รับสิทธิบัตรมาก่อน
2. ต้องเป็นการประดิษฐ์ที่มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น คือ มีลักษณะที่เป็นการแก้ไขปัญหาทางเทคนิค หรือไม่เป็นการประดิษฐ์ที่อาจทำได้โดยง่ายต่อผู้ที่มีความรู้ในระดับธรรมดา
3. ต้องเป็นการประดิษฐ์ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในทางอุตสาหกรรม เกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรือหัตถกรรม

*การประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตรไม่ได้

-จุลชีพและส่วนประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งของจุลชีพที่มีอยู่ตามธรรมชาติ สัตว์ พืช หรือสารสกัดจากสัตว์หรือพืช เนื่องจากเป็นสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ
-กฎเกณฑ์และทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เนื่องจากเป็นเพียงหลักเกณฑ์ทางธรรมชาติเท่านั้น การคิดค้นขึ้นมาได้ถือว่าเป็นการค้นพบเท่านั้น ซึ่งคนอื่นๆ อาจจะค้นพบสิ่งเดียวกันได้เช่นกัน เช่นทฤษฎีพลังงานนิวเคลียร์ของไอน์สไตน์ที่ว่า E = mc2 เป็นต้น
-ระบบข้อมูลสำหรับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือ ซอฟท์แวร์ ซึ่งได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์อยู่แล้ว
-การประดิษฐ์ บำบัด หรือการรักษาโรคมนุษย์ หรือสัตว์ เนื่องจากถ้ามีการให้ความคุ้มครอง อาจจะมีผลกระทบต่อชีวิตของมนุษย์ หรือสัตว์ โดยตรง
-การประดิษฐ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดี อนามัยหรือสวัสดิภาพของประชาชน

*การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตรได้
ต้องเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่ออุตสาหกรรมหรือหัตถกรรม คือเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ ยังไม่มีใช้แพร่หลายในประเทศหรือยังไม่ได้เปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดในเอกสาร หรือสิ่งพิมพ์ก่อนวันขอรับสิทธิบัตร หรือไม่คล้ายกับแบบผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้ว

*ผู้ที่มีสิทธิขอรับสิทธิบัตร
-ผู้ประดิษฐ์ / ผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นสิทธิตามธรรมชาติของผู้ประดิษฐ์คิดค้น
-ผู้รับโอนสิทธิจากผู้ประดิษฐ์ / ผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์
-นายจ้างของผู้ประดิษฐ์ / ผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์

*ประโยชน์ที่จะได้รับจากสิทธิบัตร

โดยทั่วๆไป สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ที่มีผลมาจากการประดิษฐ์คิดค้นหรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งก็คือสิทธิบัตรนั่นเอง นอกจากจะก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ เครื่องมือเครื่องใช้ที่อำนวยความสะดวกต่างๆ แล้วยังก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่ให้ความปลอดภัยแก่ชีวิตมากขึ้นด้วย เช่น ยารักษาโรคต่างๆ เป็นต้น ดังจะเห็นได้จาก เครื่องกลเติมอากาศหรือกังหันน้ำชัยพัฒนา ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประดิษฐ์คิดค้น เพื่อใช้ในการบำบัดน้ำเสียและใช้เพื่อปรับปรุงคุณภาพของบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ เป็นการปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อสุขภาพและอนามัยของประชาชนให้ดีขึ้น การประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ๆ จะทำให้ประชาชนได้รับแต่สิ่งที่ดี มีคุณภาพสูงขึ้นมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นและให้ความปลอดภัยแก่ชีวิตมากขึ้นนอกจากนี้สิทธิบัตรยังเป็นแหล่งข้อมูล ที่เป็นความรู้ทางด้านเทคโนโลยีที่มีประโยชน์ในการวิจัยและพัฒนาเพื่อปรับปรุงการผลิต ปรับปรุงคุณภาพของสินค้า ลดต้นทุนการผลิตในภาคอุตสาหกรรม ทำให้สินค้ามีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นการพัฒนาทางเทคโนโลยีให้สูงขึ้นลดการนำเข้า หรือพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ดังนั้น ประโยชน์ที่จะได้รับจากสิทธิบัตรสามารถสรุปได้ดังนี้
-ด้านสังคม ประชาชนมีสิ่งของเครื่องใช้ที่มีประโยชน์มีความสะดวกสบาย มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินมากขึ้น
-ผู้ประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ๆ จะได้รับผลตอบแทนจากสังคมคือ การได้รับความคุ้มครองสิทธิบัตร สามารถที่จะนำการประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรนั้นไปผลิต จำหน่าย นำเข้ามาในราชอาณาจักร หรืออนุญาตให้บุคคลอื่นใช้สิทธิตามสิทธิบัตรนั้น โดยได้รับค่าตอบแทนเนื่องจากผู้ประดิษฐ์หรือผู้ออกแบบได้ใช้สติปัญญาและความพยายามของตน รวมทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่จะมีประโยชน์แก่มนุษย์ นับเป็นสิทธิตามธรรมชาติของผู้ประดิษฐ์คิดค้น อันเป็นการจูงใจ และกระตุ้นให้นักประดิษฐ์คิดค้นมีกำลังใจและมีความมั่นใจในการคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ นั้น
-สามารถนำข้อมูลจากสิทธิบัตรที่กำหนดให้ผู้ประดิษฐ์คิดค้น ต้องเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับการประดิษฐ์คิดค้น ไปใช้ในการศึกษาค้นคว้า วิจัยและพัฒนาต่อไปได้ส่งผลให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีให้สูงขึ้น ซึ่งช่วยลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ที่ภาคอุตสาหกรรมสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาการผลิตสินค้า ลดต้นทุนการผลิตสินค้า เพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม ปรับปรุงคุณภาพของสินค้าจะเป็นการลดการพึ่งพาหรือการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ
-ทำให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการลงทุนจากต่างประเทศ การจัดระบบให้มีการคุ้มครองด้านสิทธิบัตร ย่อมทำให้เจ้าของเทคโนโลยีจากต่างประเทศมีความมั่นใจในการลงทุนหรือถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่ผู้ร่วมลงทุนในประเทศ

*อายุสิทธิบัตร
-สิทธิบัตรการประดิษฐ์ มีอายุ 20 ปี นับตั้งแต่วันขอรับสิทธิบัตร
-สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ มีอายุ 10 ปี นับตั้งแต่วันขอรับสิทธิบัตร
OTT-ต้องการ ระเอียดกว่านี้ .. ก็ ไปค้นต่อที่เว็บนะครับ แต่ผม ว่าเกือบ จะครบแล้วหละ ผมรีบ นะ

ข้อมูล มาจากกรมทรัพย์สินธุทางปัญญา ครับ
http://www.ipthailand.org/indext.html

Custom Search